รอยร้าวที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี
ปฏิกิริยาทางเคมีเป็นสาเหตุที่สำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เกิดรอยร้าว
อาทิ การที่หินหรือทรายบางชนิด เช่น ไพไรต์ (pyrite) ทำปฏิกิริยากับด่าง (alkali) ในปูนซีเมนต์
เกิดเป็นวุ้นและขยายตัวทำให้เกิดรอยร้าว
ซึ่งกรณีนี้สามารถป้องกันได้โดยใช้ปูนซีเมนต์ที่มีเปอร์เซ็นต์ของต่างสูงไม่เกิน 0.6เปอร์เซ็นต์ การเกิดสนิมขึ้นที่เหล็กเสริม อันเป็นผลทำให้เหล็กเสริมเกิดการขยายตัว ก็จะทำให้เกิดรอยร้าวได้ด้วยเช่นกัน
ในกรณีที่ว่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการทำคอนกรีตให้แน่น
และ/หรือให้เนื้อคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมหนาพอที่จะป้องกันความชื้น
มิให้ผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยากับเหล็กเสริมได้
รอยร้าวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
อาทิ การทดหรือขยายตัวของเนื้อคอนกรีต ตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแรงเค้นอันเนื่องมาจากการหดตัวสูงกว่าแรงดึงที่คอนกรีตสามารถที่จะสร้างขึ้นมาได้
ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดรอยร้าวขึ้นได้เช่นกัน
องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดรอยร้าวดังกล่าวนี้ ได้แก่
ปริมาณน้ำในส่วนผสมของคอนกรีต ถ้ายิ่งใช้น้ำมากคอนกรีตก็จะร้าวมาก
เพราะคอนกรีตจะหดตัวได้มากและมีกำลังต่ำลง
การบ่มคอนกรีตที่ถูกวิธีในเวลาอันถูกต้อง จะช่วยให้คอนกรีตมีกำลังสูง
และสามารถป้องกันคอนกรีตแตกร้าวได้
วิธีควบคุมรอยร้าวชนิดนี้ที่นิยมทำกันก็คือ
การจัดทำจุดอ่อน (weak zone)
ขึ้นในเนื้อคอนกรีต ด้วยการทำเป็นรอยต่อเพื่อให้คอนกรีตร้าวในบริเวณดังกล่าว
โดยทั่วไปจะให้รอยต่อลึกประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของแท่งคอนกรีต
อาจใช้เลื่อยวงเดือนตัดเป็นร่องหลังเทคอนกรีตแล้วประมาณ 4 ถึง 8 ชั่วโมง
แต่จะต้องให้สามารถทำงานได้โดยที่ผิวหน้าคอนกรีตไม่เสียหาย รอยต่อดังกล่าวนี้จะต้องมีมากพอ
ปกติบนพื้นทางเท้าควรทำไว้ทุกๆ ระยะ 2 เมตร และทุกๆ 5 ถึง 6 เมตร
สำหรับถนนหรือพื้นคอนกรีตขนาดใหญ่ หรือทุกๆ ช่วงเสาของอาคาร แต่ไม่ควรเกิน 6 เมตร
นอกจากจะมีการเสริมเหล็กไว้อย่างเพียงพอ
รอยร้าวแบบแผนที่
(Craze crack)
ที่มา :www.concretemoisture.com
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณผิวหน้าของคอนกรีตเท่านั้น จะเกิดจากการที่ผิวหน้าของคอนกรีตหดตัวมากกว่าเนื้อใน รอยร้าวชนิดนี้เมื่อเริ่มเกิดจะแลไม่ค่อยเห็นแต่จะปรากฏให้เห็นก็เมื่อเปียกน้ำเท่านั้น สาเหตุอาจเนื่องมาจากอุณหภูมิความชื้น และลม หรือจากการแต่งหน้าคอนกรีตที่มีส่วนผสมเหลวนานจนเกินไป หรือจากการใช้ปูนซีเมนต์แห้งสาดไปบนผิวหน้าคอนกรีตเพื่อให้แห้งตัวเร็วยิ่งขึ้น ไอเสียจากเครื่องยนต์ก็เป็นอีกหนึ่งที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตเกิดรอยร้าวได้เช่นกัน ดังนั้น การหลีกเลี่ยงจากสิ่งเหล่านี้ก็สามารถที่จะป้องกันการเกิดรอยร้าวได้
ที่มา :www.concretemoisture.com
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณผิวหน้าของคอนกรีตเท่านั้น จะเกิดจากการที่ผิวหน้าของคอนกรีตหดตัวมากกว่าเนื้อใน รอยร้าวชนิดนี้เมื่อเริ่มเกิดจะแลไม่ค่อยเห็นแต่จะปรากฏให้เห็นก็เมื่อเปียกน้ำเท่านั้น สาเหตุอาจเนื่องมาจากอุณหภูมิความชื้น และลม หรือจากการแต่งหน้าคอนกรีตที่มีส่วนผสมเหลวนานจนเกินไป หรือจากการใช้ปูนซีเมนต์แห้งสาดไปบนผิวหน้าคอนกรีตเพื่อให้แห้งตัวเร็วยิ่งขึ้น ไอเสียจากเครื่องยนต์ก็เป็นอีกหนึ่งที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตเกิดรอยร้าวได้เช่นกัน ดังนั้น การหลีกเลี่ยงจากสิ่งเหล่านี้ก็สามารถที่จะป้องกันการเกิดรอยร้าวได้
รอยร้าวที่เกิดจากความร้อน
ความร้อนที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดรอยร้าว
ได้แก่ ความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างปูนซีเมนต์กับน้ำขณะก่อตัว
ซึ่งจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิภายในกับภายนอกของคอนกรีต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนกรีตหลา ซึ่งมีเนื้อคอนกรีตมาก การถ่ายเทความร้อนเกิดจากภายในออกสู่ภายนอก
จะทำให้คอนกรีตเกิดการหดตัวและเกิดรอยร้าว การควบคุมสามารถทำได้หลายวิธี อาทิ
การเทคอนกรีตแต่ละครั้งไม่เทให้สูงมากนัก
หรือยึดระยะเวลาการเทระหว่างชั้นให้นานออกไปการใช้ปูนซีเมนต์ที่ให้ความร้อนต่ำ
หรือการเพิ่มความเย็นให้กับวัสดุผสมคอนกรีตและน้ำที่ใช้
ก็สามารถที่จะป้องกันการเกิดรอยร้าวได้เช่นกัน
อุณหภูมิภายนอกก็มีอิทธิพลต่อการร้าวของคอนกรีตได้ด้วยเช่นกัน
การป้องกันจากสาเหตุดังกล่าวนี้สามารถที่จะกระทำได้ด้วยการทำรอยต่อไว้ให้คอนกรีตขยายตัว
รอยต่อที่ว่านี้วัสดุที่ยึดหยุ่นตัวได้ เช่น แผ่นยาง แอสพัลต์ เป็นต้น
และรอยต่อดังกล่าวนี้จะต้องกำหนดไว้ ณ ระหว่างทางเท้ากับถนน
หรือระหว่างถนนกับพื้นโรงรถ เป็นต้น
จุดอ่อนของโครงสร้าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตามมุมประตู-หน้าต่าง ซึ่งโดยทั่วไปจะมีแรงเค้น (stress concentration) สูงกว่าที่อื่น
บริเวณดังกล่าวนี้มักจะเกิดรอยร้าว
และรอยร้าวเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณมุมหรือใกล้ๆ กับมุม ภายในระยะ 1 ใน 3
ของความกว้างของช่องประตูหน้าต่าง
กรณีสามารถป้องกันได้โดยใส่เหล็กเสริมเพื่อช่วยรับแรงเค้นที่เกิดขึ้นบางทีรอยร้าวอาจเกิดจากการใส่เหล็กเสริมก็มี
เช่น บริเวณที่เหล็กเสริมต้องหักงอ กรณีดังกล่าวนี้ สามารถป้องกันได้
ด้วยการเพิ่มความหนาของคอนกรีตที่หุ้ม
ความบกพร่องในการคำนวณออกแบบก็เป็นสาเหตุอีกอันหนึ่ง
ที่ทำให้เกิดรอยร้าวอาทิ การใช้เสาเข็มต่างขนาดรองรับฐานรากอาคารหลังเดียวกันหรือที่ต่อเนื่องกัน
ดังนั้น เมื่อฐานรากทรุดตัวลงไม่เท่ากัน
จึงทำให้เกิดรอยร้าวกับอาคารได้หรือเกิดจากการกำหนดน้ำหนักที่ใช้ในการคำนวณน้อยกว่าที่เป็นจริง
ทำให้โครงสร้างไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดรอยร้าวได้เช่นกัน
รอยร้าวที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือเหตุสุดวิสัย
อุบัติเหตุหรือเหตุสุดวิสัยที่อาจเกิดขึ้นในทันทีทันใด
ก็สามารถทำให้เกิดรอยร้าวได้ด้วยเช่นกัน อาทิ
การรับน้ำหนักการสั่นสะเทือนที่สูงเกินขีดจำกัดการกระแทก ไฟไหม้ หรือแผ่นดินไหว
เป็นต้น
ข้อมูลอิฐมวลเบาเพิ่มเติม http://www.hbaan.com/blokco.html
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือเทคนิคงานปูน-คอนกรีต
ข้อมูลอิฐมวลเบาเพิ่มเติม http://www.hbaan.com/blokco.html
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือเทคนิคงานปูน-คอนกรีต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น