วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความเสียหายบนผิวคอนกรีต(ต่อ)

ผิวหน้าคอนกรีตเป็นโพรงแบบรังผึ้ง (Honeycombed surface)


                    ผิวหน้าของคอนกรีตที่เป็นโพรงคล้ายรังผึ้งระหว่างก้อนของหิน โดยมากจะเกิดบนผิวหน้าของคอนกรีตที่เทโดยมีแบบปิด เช่น ด้านข้างของคาน เสา หรือผนัง สำหรับสาเหตุและวิธีแก้ไขได้
สาเหตุและวิธีแก้ไข
  • ส่วนผสมของคอนกรีตมีทรายน้อยเกินไปไม่เพียงพอไปอุดตามช่องว่าง
              - ปรับปริมาณทรายในส่วนผสมของคอนกรีตให้เหมาะสม
  • ค่าการยุบตัวของคอนกรีตไม่เหมาะสมกับงาน เช่น การเทคอนกรีตในแบบแคบๆ ถ้าค่าการยุบตัวสูงก็จะทำให้หินไปกองรวมกันได้ แต่ถ้าค่าการยุบตัวต่ำก็จะทำให้เนื้อคอนกรีตแน่นได้ยาก
              -ปรับค่าการยุบตัวของคอนกรีตให้เหมาะสมกับงาน และปฏิบัติงานให้ถูกวิธี เช่น คอนกรีตที่ต้องเทสูงๆ ควรใช้ท่อส่งคอนกรีตให้ถึงจุดที่เท เป็นต้น
  • ทำคอนกรีตให้แน่นได้ไม่ดีพอ
              -ใช้เครื่องสั่นหรือเขย่าคอนกรีตช่วย และควรเทคอนกรีตแต่ละชั้นให้สูงเกินกว่า 60 เซนติเมตร
  • ใช้เวลาผสมคอนกรีตน้อยเกินไป
              -ใช้เวลาผสมคอนกรีตให้นานขึ้นเพื่อให้วัสดุผสมกระจายตัวดีขึ้น
  • เหล็กเสริมชิดแบบเกินไปหรือหินที่ใช้มีขนาดโตเกินไป
             -ให้ตรวจสอบและหนุนเหล็กเสริมให้ห่างจากแบบตามกำหนดและใช้หินที่ไม่โตเกินขนาด
  • แบบแตกหรือรั่ว ทำให้ส่วนละเอียดไหลออกไปได้
            - ตรวจสอบแบบก่อนเทคอนกรีตและอุดรูรั่วทั้งหมด

หมายเหตุ : ผิวหน้าที่เป็นโพรงซึ่งไม่ถึงขึ้นเป็นอันตรายต่อโครงสร้าง สามารถซ่อมแซมได้ด้วยการสกัดให้ลึกอย่างน้อย 2.5 เซนติเมตร     จากนั้นทำความสะอาดฉีดน้ำให้ชุ่มแล้วใช้ส่วนผสมของปูนซีเมนต์ 1 ส่วนต่อทรายที่ผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 4 21/2 ถึง 3 ส่วน อุดปิดรอย และหลังจากอุดปิดแล้วจะต้องให้ความชุ่มชื้นติดต่อกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.hbaan.com/blokco.html

ข้อมูลส่วนหนึ่งจากหนังสือเทคนิคงานปูน-คอนกรีต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น