วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความเสียหายบนผิวคอนกรีต(ต่อ)

ผิวหน้าร่อนเป็นแผ่น (scaling) ของคอนกรีต

ที่มา :http://www.cpacacademy.com/
ผิวหน้าของคอนกรีตซึ่งโดยทั่วไปจะหนาประมาณ 2 ถึง 6 มิลลิเมตร หลุดร่อนออกมาจากเนื้อคอนกรีตเมื่อกระทบสภาวะผิดปกติ สำหรับสาเหตุและวิธีแก้ได้
สาเหตุ
  • คอนกรีตมีคุณภาพต่ำ (สัดส่วนระหว่างปูนซีเมนต์ ทราย หิน และน้ำไม่ถูกต้อง)
  • แต่งผิวหน้าคอนกรีตก่อนเวลาอันควรทำให้เกิดการดึงส่วนละเอียดลอยขึ้นสู่ผิวหน้า
  • ทรายที่ใช้มีส่วนละเอียดมากเกินไป (ส่วนละเอียดที่ผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 100 และเบอร์ 200)
วิธีแก้ไข
  • ปรับส่วนผสมของคอนกรีตให้ถูกต้อง
  • ควรเริ่มแต่งผิวหน้าคอนกรีตเมื่อคราบน้ำบนผิวหน้าคอนกรีตหายไปจนหมดแล้ว
  • ขจัดส่วนที่ละเอียดเกินไปออก ด้วยการล้างหินและทรายก่อนนำมาใช้
            ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเทคนิคการก่อสร้าง ซึ่งงานสร้างบ้านจะออกมาดีเท่าใดจะขึ้นอยู๋กับผู้รับเหมา และวัสดุที่นำมาก่อสร้างบ้าน ซึ่งหากเจ้าของมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้านจะอาจจะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ได้  
            วัสดุที่นำมาก่อสร้างบ้านจึงเป็นอีกปัญจัยหนึ่งที่จะส่งผลต่อโครงสร้างบ้าน จึงขอแนะนำอิฐมวลเบา BlokCo ซึ่งจะสามารถลดปัญหาได้มากเช่น  ปัญหายผนังร้าว ทำให้เกิดความเสียหาย เป็นต้น ดังนี้อิฐมวลเบา BlokCo จึงเป็นวัสดุก่อสร้างที่เป็นตัวเลือกให้คุณในการก่อสร้างบ้านเพื่อให้บ้านมีความมั่นคงแข็งแรง และมีความสวย ซึงอิฐมวลมวล BlokCo ยังช่วยให้ช่างผู้ทำงานทำงานได้เร็วขึ้ เพราะอิฐมวลเบา มีขนาดที่เท่ากัน ตัดตกแต่งง่าย โดยสามารถสั่งซื้ออิฐมวล บล๊อคโค่ได้ที่โรงงานผลิต ที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ เทคนิคปูน-คอนกรีต

ความเสียหายบนผิวคอนกรีต(ต่อ)

ความเสียหายที่ปรากฏบนผิวหน้าคอนกรีตอาจเกิดขึ้นได้เสมอ ความเสียหายเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากการทำงานที่ขาดความระมัดระวัง การใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม การใช้ส่วนผสมที่ไม่ถูกต้อง หรือการเทและบ่มคอนกรีตที่ไม่ถูกวิธี จริงอยู่ สิ่งเหล่านี้ถึงแม้จะซ่อมแซมได้ก็ตาม แต่ก็ทำให้เกิดความยุ่งยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและถึงแม้ว่าจะซ่อมแซมดีเพียงใดก็ตาม ย่อมไม่อาจทำให้มีคุณภาพดีเท่ากับคอนกรีตที่ไม่ต้องซ่อมได้ สิ่งเหล่านี้สามารถควบคุมมิให้เกิดขึ้นได้ ถ้าเพิ่มความเอาใชใส่ทั้งก่อนและขณะปฏิบัติงาน สำหรับลักษณะความเสียหายที่พบเห็นกันโดยทั่วไป ได้แก่ ผิวหน้าแตกเป็นฝุ่น ผิวหน้าร่อนเป็นแผ่น ผิวหน้าเป็นโพรงแบบรังผึ้ง ผิวหน้าพองปูด มีชั้นส่วนละเอียดบนผิวหน้าคอนกรีตโพรงอากาศ แนวหรือรอยทราย และรอยปะทุ
          ผิวหน้าแตกเป็นฝุ่น (dusting)
ผิวหน้าของคอนกรีตโดยเฉพาะบนพื้นคอนกรีต มีคอนกรีตซึ่งมีความแข็งน้อยกว่าเนื้อในเคลือบอยู่บางๆ ทำให้ความต้านทานต่อการขัดสีดำ ดังนั้น เมื่อถูกขัดสีก็จะกลายเป็นฝุ่นไปในที่สุด สำหรับสาเหตุและวิธีแก้ไขได้ถูกแสดงไว้ดังนี้


ข้อสังเกต: แบบไม้หรือไม้อัดที่ใช้ครั้งแรก ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตแตกเป็นฝุ่นได้เช่นกัน จากการทดสอบพบว่าเฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) ในเนื้อไม้มีผลต่อการก่อตัวของปูนซีเมนต์ ดังนั้น เมื่อใช้ไม้เป็นแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม้ยังแห้งไม่สนิทก็ควรใช้น้ำมันทาเคลือบผิวหน้า แต่อย่างไรก็ตาม สมาคมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า การใช้น้ำมันทางแบบมากเกินไปก็อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตแตกเป็นฝุ่นได้เช่นกัน เนื่องจากน้ำมันจะจับฝุ่นสะสมเป็นชั้นบางๆ บนผิวหน้าของแบบ ทำให้คอนกรีตที่ติดกับแบบไม่ก่อตัวตามปกติ และเมื่อถึงกำหนดเวลาถอดแบบแล้ว คอนกรีตที่ติดกันกับแบบก็ยังไม่แข็งตัว จึงกลายเป็นฝุ่นไปในที่สุด สำหรับการแก้ไขก็สามารถกระทำโดยไม่ใช้น้ำมันทาแบบมากจนเกินไป หรือเช็ดล้างน้ำมันส่วนเกินออก การใช้ไม้อัดเป็นครั้งแรก นอกจากจะทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตแตกเป็นฝุ่นแล้ว บางครั้งก็จะทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตเป็นสีชมพูหรือสีแดง ซึ่งเข้าใจอาจเกิดจากสารบางชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตไม้อัดสิ่งเหล่านี้ล้างออกยากแต่จะจางหายไปเองภายใน 2-3 วัน หรือบางครั้งหลายสัปดาห์ก็เป็นได้

จะไม่เกิดปัญหาเหล่านี้หากเราเลือกวัสดุที่มีคุณภาพในการสร้างบ้าน ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งขอแนะนำอิฐมวลเบา BlokCo (อิฐมวลเบา บล็อคโค่) ที่มีตุณสมบัติพิเศษสามารถป้องกันความร้อนได้ดีบ้านเย็น เป็นเป็นวัสดุที่มีวัตถุดิบคล้ายกันกับปูนซีเมนต์ จำให้เกิดปัญหาน้อยมากในการก่อฉาบ และสามารถลดการแตกร้าวของผนังบ้าน โดยมีโรงานผลิตที่ จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานี

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือเทคนิคงานปูน คอนกรีต

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รอยร้าวที่เกิดขึ้นภายหลังคอนกรีตแข็งตัวแล้ว (ต่อ)

รอยร้าวที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี
                ปฏิกิริยาทางเคมีเป็นสาเหตุที่สำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เกิดรอยร้าว อาทิ การที่หินหรือทรายบางชนิด เช่น ไพไรต์ (pyrite) ทำปฏิกิริยากับด่าง (alkali) ในปูนซีเมนต์ เกิดเป็นวุ้นและขยายตัวทำให้เกิดรอยร้าว ซึ่งกรณีนี้สามารถป้องกันได้โดยใช้ปูนซีเมนต์ที่มีเปอร์เซ็นต์ของต่างสูงไม่เกิน 0.6เปอร์เซ็นต์ การเกิดสนิมขึ้นที่เหล็กเสริม อันเป็นผลทำให้เหล็กเสริมเกิดการขยายตัว ก็จะทำให้เกิดรอยร้าวได้ด้วยเช่นกัน ในกรณีที่ว่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการทำคอนกรีตให้แน่น และ/หรือให้เนื้อคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมหนาพอที่จะป้องกันความชื้น มิให้ผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยากับเหล็กเสริมได้
                รอยร้าวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
                การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ อาทิ การทดหรือขยายตัวของเนื้อคอนกรีต ตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแรงเค้นอันเนื่องมาจากการหดตัวสูงกว่าแรงดึงที่คอนกรีตสามารถที่จะสร้างขึ้นมาได้ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดรอยร้าวขึ้นได้เช่นกัน องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดรอยร้าวดังกล่าวนี้ ได้แก่ ปริมาณน้ำในส่วนผสมของคอนกรีต ถ้ายิ่งใช้น้ำมากคอนกรีตก็จะร้าวมาก เพราะคอนกรีตจะหดตัวได้มากและมีกำลังต่ำลง การบ่มคอนกรีตที่ถูกวิธีในเวลาอันถูกต้อง จะช่วยให้คอนกรีตมีกำลังสูง และสามารถป้องกันคอนกรีตแตกร้าวได้
                วิธีควบคุมรอยร้าวชนิดนี้ที่นิยมทำกันก็คือ การจัดทำจุดอ่อน (weak zone) ขึ้นในเนื้อคอนกรีต ด้วยการทำเป็นรอยต่อเพื่อให้คอนกรีตร้าวในบริเวณดังกล่าว โดยทั่วไปจะให้รอยต่อลึกประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของแท่งคอนกรีต อาจใช้เลื่อยวงเดือนตัดเป็นร่องหลังเทคอนกรีตแล้วประมาณ 4 ถึง 8 ชั่วโมง แต่จะต้องให้สามารถทำงานได้โดยที่ผิวหน้าคอนกรีตไม่เสียหาย รอยต่อดังกล่าวนี้จะต้องมีมากพอ ปกติบนพื้นทางเท้าควรทำไว้ทุกๆ ระยะ 2 เมตร และทุกๆ 5 ถึง 6 เมตร สำหรับถนนหรือพื้นคอนกรีตขนาดใหญ่ หรือทุกๆ ช่วงเสาของอาคาร แต่ไม่ควรเกิน 6 เมตร นอกจากจะมีการเสริมเหล็กไว้อย่างเพียงพอ
                รอยร้าวแบบแผนที่ (Craze crack) 

ที่มา :www.concretemoisture.com
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณผิวหน้าของคอนกรีตเท่านั้น จะเกิดจากการที่ผิวหน้าของคอนกรีตหดตัวมากกว่าเนื้อใน รอยร้าวชนิดนี้เมื่อเริ่มเกิดจะแลไม่ค่อยเห็นแต่จะปรากฏให้เห็นก็เมื่อเปียกน้ำเท่านั้น สาเหตุอาจเนื่องมาจากอุณหภูมิความชื้น และลม หรือจากการแต่งหน้าคอนกรีตที่มีส่วนผสมเหลวนานจนเกินไป หรือจากการใช้ปูนซีเมนต์แห้งสาดไปบนผิวหน้าคอนกรีตเพื่อให้แห้งตัวเร็วยิ่งขึ้น ไอเสียจากเครื่องยนต์ก็เป็นอีกหนึ่งที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตเกิดรอยร้าวได้เช่นกัน ดังนั้น การหลีกเลี่ยงจากสิ่งเหล่านี้ก็สามารถที่จะป้องกันการเกิดรอยร้าวได้

                รอยร้าวที่เกิดจากความร้อน
                ความร้อนที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดรอยร้าว ได้แก่ ความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างปูนซีเมนต์กับน้ำขณะก่อตัว ซึ่งจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิภายในกับภายนอกของคอนกรีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนกรีตหลา ซึ่งมีเนื้อคอนกรีตมาก การถ่ายเทความร้อนเกิดจากภายในออกสู่ภายนอก จะทำให้คอนกรีตเกิดการหดตัวและเกิดรอยร้าว การควบคุมสามารถทำได้หลายวิธี อาทิ การเทคอนกรีตแต่ละครั้งไม่เทให้สูงมากนัก หรือยึดระยะเวลาการเทระหว่างชั้นให้นานออกไปการใช้ปูนซีเมนต์ที่ให้ความร้อนต่ำ หรือการเพิ่มความเย็นให้กับวัสดุผสมคอนกรีตและน้ำที่ใช้ ก็สามารถที่จะป้องกันการเกิดรอยร้าวได้เช่นกัน
                อุณหภูมิภายนอกก็มีอิทธิพลต่อการร้าวของคอนกรีตได้ด้วยเช่นกัน การป้องกันจากสาเหตุดังกล่าวนี้สามารถที่จะกระทำได้ด้วยการทำรอยต่อไว้ให้คอนกรีตขยายตัว รอยต่อที่ว่านี้วัสดุที่ยึดหยุ่นตัวได้ เช่น แผ่นยาง แอสพัลต์ เป็นต้น และรอยต่อดังกล่าวนี้จะต้องกำหนดไว้ ณ ระหว่างทางเท้ากับถนน หรือระหว่างถนนกับพื้นโรงรถ เป็นต้น
               
                จุดอ่อนของโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตามมุมประตู-หน้าต่าง ซึ่งโดยทั่วไปจะมีแรงเค้น (stress concentration) สูงกว่าที่อื่น บริเวณดังกล่าวนี้มักจะเกิดรอยร้าว และรอยร้าวเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณมุมหรือใกล้ๆ กับมุม ภายในระยะ 1 ใน 3 ของความกว้างของช่องประตูหน้าต่าง กรณีสามารถป้องกันได้โดยใส่เหล็กเสริมเพื่อช่วยรับแรงเค้นที่เกิดขึ้นบางทีรอยร้าวอาจเกิดจากการใส่เหล็กเสริมก็มี เช่น บริเวณที่เหล็กเสริมต้องหักงอ กรณีดังกล่าวนี้ สามารถป้องกันได้ ด้วยการเพิ่มความหนาของคอนกรีตที่หุ้ม
                รอยร้าวที่เกิดความบกพร่องในการคำนวณออกแบบ
ที่มา http://www.technologymedia.co.th/

                ความบกพร่องในการคำนวณออกแบบก็เป็นสาเหตุอีกอันหนึ่ง ที่ทำให้เกิดรอยร้าวอาทิ การใช้เสาเข็มต่างขนาดรองรับฐานรากอาคารหลังเดียวกันหรือที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้น เมื่อฐานรากทรุดตัวลงไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดรอยร้าวกับอาคารได้หรือเกิดจากการกำหนดน้ำหนักที่ใช้ในการคำนวณน้อยกว่าที่เป็นจริง ทำให้โครงสร้างไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดรอยร้าวได้เช่นกัน
                รอยร้าวที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือเหตุสุดวิสัย

                อุบัติเหตุหรือเหตุสุดวิสัยที่อาจเกิดขึ้นในทันทีทันใด ก็สามารถทำให้เกิดรอยร้าวได้ด้วยเช่นกัน อาทิ การรับน้ำหนักการสั่นสะเทือนที่สูงเกินขีดจำกัดการกระแทก ไฟไหม้ หรือแผ่นดินไหว เป็นต้น
ข้อมูลอิฐมวลเบาเพิ่มเติม http://www.hbaan.com/blokco.html
ขอบคุณข้อมูลจาก  หนังสือเทคนิคงานปูน-คอนกรีต

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผนังบ้าน

ความเสียหายของการก่อผนังบ้านมักเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าจะได้พยายามทำให้ดีที่สุดแล้วก็ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นแม้บางครั้งอาจไม่ทำให้เกิดอันตรายขึ้นก็ตาม แต่ก็อาจมีผลทำให้คอนกรีตที่หล่อขาดความสวยงามและความเชื่อถือขึ้นได้เช่นกัน ปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดความเสียหายนี้ อาจเกิดจากความพบพร่องของผู้ออกแบบก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากทางผู้ก่อสร้าง ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการขาดการควบคุมงานที่ดี มีการใช้วัสดุที่ไม่เหมาะ อัตราส่วนผสมไม่ถูกต้อง ดังนั้น ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุดโดยไม่เกิดความบกพร่องแล้ว ปัญหาดังกล่าวนี้ก็จะลดลงหรือหมดไปได้เช่นกัน ซึ่งรอยร้าวบนคอนกรีต หรือผนังบ้าน จะสามารถแบ่งได้ดังนี้
 รอยร้าวที่เกิดขึ้นก่อนผนังบ้านจะแข็งตัว
                 รอยร้าวเกิดจากการทรุดตัวของพื้นที่รองรับ (form or subgrade movement)

                รอยร้าวชนิดนี้ สาเหตุอาจเนื่องมาจากความชื้นซึ่งจะทำให้พองตัว หรือแบบอาจไม่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของอิฐก่อและปูนได้ อย่างไรก็ตาม การที่วัสดุยึดตรึงแบบ ไม่ว่าจะเป็นตะปูหรือนอตถ้าเกิดการหลุดหลวม ก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แบบขยับตัวได้เช่นกัน  รอยร้าวที่เกิดขึ้นจากสาเหตุดังกล่าวนี้จะมีรูปร่างไม่แน่นอน การควบคุมเพื่อมิให้เกิดรอยร้าวสามารถที่จะกระทำได้ด้วยการตรวจความแน่นของพื้นที่รองรับ               
                  รอยร้าวเกิดจากการทรุดหรือจมตัวของวัสดุผสมหยาบในเนื้อคอนกรีต (settlement)

                รอยร้าวชนิดนี้ สาเหตุเกิดจากส่วนผสมของปูนฉาบเหลวเกินไป ดังนั้น ในช่วงเวลาที่ผสมปูน วัสดุผสมจำพวกหิน และทรายก็ยังจมลงสู่เบื้องล่างเรื่อยๆ ถ้ามีวัสดุขวางกั้นอยู่ เช่น เหล็กเสริม ท่อสายไฟ หรือท่อน้ำ ส่วนที่จมตัวจะทรุดตัวอยู่รอบๆ วัสดุนั้น ทำให้เกิดรอยร้าวบนผิวหน้าคอนกรีตตามแนวของวัสดุนั้นๆ สาเหตุดังกล่าวนี้สามารถควบคุมได้ด้วยการลดปริมาณน้ำในส่วนผสมลง และใช้ หิน ทรายที่มีขนาดลดหลั่นที่ได้ส่วนกัน
                  รอยร้าวเกิดจากการหดตัวของปูนในขณะก่อตัว (plastic shrinkage)

                รอยร้าวชนิดนี้ สาเหตุเกิดจากอัตราการระเหยตัวของน้ำสูงกว่าปริมาณน้ำที่ถูกขับออกจากปูน ในขณะก่อตัว เนื่องจากสภาพของดินฟ้าอากาศและอุณหภูมิของคอนกรีตเองรอยร้าวชนิดนี้พบมากที่สุดบนพื้นคอนกรีต ลักษณะการร้าวส่วนใหญ่จะร้าวเป็นเส้นตรงหรือเป็นรูปตีนกา มักจะเกิดภายในกรอบของพื้น แต่ก็มีบ้างที่ร้าวไปจนถึงขอบเลยก็มี รอยร้าวชนิดนี้จะลึกมากบางกรณีอาจร้าวตลอดความหนาของพื้นคอนกรีต
รอยร้าวชนิดนี้ถึงแม้จะไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้าง แต่ก็จะทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิมได้ เนื่องจากรอยร้าวดังกล่าว จะเป็นช่องทองให้น้ำและอากาศเข้าไปทำอันตรายต่อเหล็กเสริมภายในเนื้อของคอนกรีตได้ การควบคุมสามารถที่จะกระทำได้ ด้วยการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ไม้แบบ พื้นที่รองรับวัสดุผสม นอกจากนั้น การทำแผงกันลม กันแดด การรีบแต่งหน้าคอนกรีต และการรีบบ่มคอนกรีตโดยเร็ว ก็สามารถช่วยขจัดการแตกร้าวลงได้ การหลีกเลี่ยงที่จะเทคอนกรีตในขณะอากาศร้อนหรือลมแรง ก็สามารถที่จะช่วยลดการแตกร้าวได้ด้วยเช่นกัน รอยร้าวถ้าพบก่อนที่คอนกรีตจะแข็งตัวก็อาจแก้ไขได้ด้วยการเขย่าคอนกรีตอีกครั้งหนึ่ง หรือแก้โดยการแต่งผิวหน้าของคอนกรีต ด้วยวิธีคลุกเคล้า คอนกรีตเข้าหากันเพื่อปิดรอยร้าว
อิฐมวลเบา BlokCo

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผนังบ้านที่ได้กล่าวเบื้องต้นนี้ ได้แสดงให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับหลายปัจจัยที่มีความซับซ้อน ดังนั้นเพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นจึงขอแนะนำอิฐมวลเบา BlokCo ซึ่งจะสามารถลดการแตกร้าวของผนังบ้านได้เป็นอย่างดี เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการผลิตมีความใกล้เคียงกับปูนที่ใช้ในการก่อฉาบ จึงทำให้อิฐมวลเบาที่ใช้ก่อเป็นเนื้อเดียวกันกับปูนก่อฉาบ  นอกจากนี้อิฐมวลเบา BlokCo  ยังช่วยให้บ้านเย็นขึ้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษของอิฐมวลเบา BlokCo ซึ่งมีโรงงานผลิต ที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ มีบริการจัดส่ง

ขอบคุณข้อมูลจาก  หนังสือเทคนิคงานปูน-คอนกรีต