วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อิฐมอญแชมป์เก่า ปะทะ อิฐมวลเบา น้องใหม่มาแรง

จากโลกที่เปลี่ยนไป มนุษย์ได้พัฒนานวัตกรรมสมัยใหม่มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการการใช้งาน มนุษย์จึงคิดค้นสิ่งใหม่ๆเพื่อทดแทนสิ่งเดิมที่มีคุณภาพที่ด้อยกว่า จึงมีการคิดนวัตกรรมที่เรียกว่าอิฐมวลเบา เพื่อเข้ามาแทนที่ อิฐมอญที่ใช้กันมาอย่างยาวนานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน แต่เมื่อก่อนใช้อิฐมอญในการก่อสร้างบ้านต้องใช้ระยะเวลาที่นาน วัสดุแตกหักง่าย ทำให้มีความล่าช้าในการก่อสร้างบ้านไม่ตอบสนองความต้องการของผู้ที่ต้องการสร้างบ้าน หรือผู้รับเหมาก่อสร้างที่ต้องการความรวดเร็ว แต่คุณภาพต้องดีกว่าเดิม

จากการโฆษณาในท้องตลาดอิฐมวลเบาถูกหยิบยกขึ้นมาว่า มีคุณภาพดีกว่าอิฐมอญทั่วไป เช่น สามารถทนไฟ-ความร้อนได้มากกว่า แข็งแรงและรับน้ำหนักได้มากกว่า น้ำหนักเบา สามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว หากศึกษาให้ดีจะรู้ว่าอิฐทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร
อิฐมวลเบา หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า คอนกรีตมวลเบาขนาดความกว้าง 4 นิ้ว ยาว 9 นิ้ว หนา 7 เซนติเมตร โครงสร้างบล็อกมีลักษณะกลวง ก่อเป็นผนังรับแรงได้ การดูดซึมน้ำปานกลาง ความหนาของปูนก่อระหว่างก้อน 2.3 มิลลิเมตร ความหนาของปูนที่ฉาบ 10 มิลลิเมตร น้ำหนักวัสดุ 45 กิโลกรัมต่อตารางเมตร น้ำหนักผนังรวมฉาบปูน 2 ด้าน 90 กิโลกรัมต่อตารางเมตร การใช้งานต่อ 1 ตารางเมตรต้องใช้จำนวน 8.33 ก้อน ค่ากำลังอัด ( Compressive Strength ) 30-80 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ค่าการนำความร้อน ( Thermal Conductivity ) 0.13 วัตต์ต่อ ม.เคลวิน อัตราการทนไฟ ( Fire Rating ) กรณีความหนา 10 เซนติเมตร อยู่ระดับ 4 อัตราการกันเสียง ( STC Rating ) 38 เดซิเบล ระยะเวลาในการก่อสร้าง 15-25 ตารางเมตรต่อวัน การติดตั้งวงกบประตู-หน้าต่าง ไม่ต้องเททับหลังและไม่ต้องมีค้ำยัน
 “อิฐมอญหรือ อิฐแดงผลิตจากดินเหนียวผสมแกลบ หรือวัสดุอื่นผสมน้ำ เผาด้วยเตาจนสุก โดยทั่วไปมีขนาดความกว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร โครงสร้างบล็อกมีลักษณะตัน ไม่สามารถก่อเป็นผนังรับแรง การดูดซึมน้ำสูง ความหนาของปูนก่อระหว่างก้อน 1.5 มิลลิเมตร ความหนาของปูนที่ฉาบ 20-25 มิลลิเมตร น้ำหนักวัสดุ 130 กิโลกรัมต่อตารางเมตร น้ำหนักผนังรวมฉาบปูน 2 ด้าน 180 กิโลกรัมต่อตารางเมตร การใช้งานต่อ 1 ตารางเมตรต้องใช้จำนวน 130145 ก้อน ค่าการนำความร้อน ( Thermal Conductivity ) 1.15 วัตต์ต่อ ม.เคลวิน อัตราการทนไฟ ( Fire Rating ) กรณีความหนา 10 เซนติเมตร อยู่ระดับ 2 อัตราการกันเสียง ( STC Rating ) 43 เดซิเบล ระยะเวลาในการก่อสร้าง 6-12 ตารางเมตรต่อวัน การติดตั้งวงกบประตู-หน้าต่าง หล่อเสาเอ็นทับหลังและต้องมีค้ำยัน
ส่วนเรื่องต้นทุนการก่อสร้างด้วยอิฐมวลเบา นั้น ในความเป็นจริงอิฐทั้งสองประเภทมีต้นทุนใกล้เคียงกัน แต่อิฐมวลเบา จะช่วยให้ผู้ประกอบการหรือผู้รับเหมาลดต้นทุนค่าแรงและร่นระยะเวลาให้สั้นลง
การก่อ อิฐมอญ2 ชั้น จะทำให้น้ำหนักต่อตารางเมตรอยู่ที่ประมาณ 180 กิโลกรัม ซึ่งทำให้ต้องเตรียมโครงสร้างเผื่อกันรับน้ำหนักในส่วนนี้ ส่งผลให้ต้นทุนโครงสร้างเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว แต่เมื่อเทียบกับการใช้อิฐมวลเบา BlokCoที่มีราคาแพง ต้นทุนจึงไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
ส่วนการก่อสร้าง-ความเรียบร้อย ขึ้นอยู่กับฝีมือในการก่อให้ได้แนวดิ่งของช่างก่อ หากก่อไม่ได้แนวดิ่งและการฉาบความหนาของปูนไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ปูนฉาบเกิดการแตกร้าวในภายหลัง หากเปรียบเทียบราคาวัสดุและค่าแรงต่อตารางเมตร อิฐมวลเบา หนา 10 เซนติเมตร ราคาเฉลี่ยประมาณ 360-400 บาทต่อตารางเมตร อิฐมอญก่อ 2 ชั้นราคาเฉลี่ยประมาณ 400-420 บาทต่อตารางเมตร
ส่วนการระบายความร้อนนั้น สถาปนิก ผู้รู้ และเราๆท่านๆต่างก็รู้ว่า ความร้อนในบ้านเรามาจากหลังคามากที่สุด เพราะเราอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตรฉะนั้นเราสามารถกันความร้อนได้โดยการติดฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ทำระแนงชายคากว้างๆ ปลูกต้นไม้-ปลูกหญ้ารอบบ้าน ได้ทั้งความร่มรื่น สวยงาม ใกล้ชิดธรรมชาติ เผลอๆลดการใช้พลังงานในการเปิดเครื่องปรับอากาศได้อีกด้วย
จากคุณสมบัติอิฐมวลเบา BlokCoและอิฐมอญ ดังที่กล่าวมาข้างต้น หากท่านอยากที่จะพิสูจน์โดยการทดสอบจากการใช้งานจริง ง่ายๆเลยท่านสามารถติดต่อสั่งซื้ออิฐมวลเบา BlokCoได้ที่โรงงานผลิตของเราได้ที่
1.โรงงานผลิตอิฐมวลเบา ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เดินทางง่าย สะดวก มีพนักงานให้บริการอย่างดี
2.ที่ตั้งโรงงานอยู่บนถนนเส้นรอบเมืองตรงข้าม Big C อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ สังเกตได้ง่าย   เดินทางสะดวก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น