วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความเสียหายบนผิวคอนกรีต(ต่อ)

ผิวหน้าพองปูด (Blistering)

ที่มา:http://www.nrc-cnrc.gc.ca/ctu-sc/files/images/ctu-sc/ctu59/fig2-e.jpg

ผิวหน้าของคอนกรีตพองปูด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรขึ้นไป ถึงหลายๆ เซนติเมตร ส่วนที่พองปูดสามารถกดให้แตกได้ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการแต่งผิวหน้าคอนกรีตก่อนกำหนด ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตถูกปิดก่อนที่อากาศและน้ำจะหนีออกไปได้หมด สำหรับสาเหตุและวิธีแก้ไข ดังนี้
สาเหตุ
ใส่สารทำให้เกิดฟองอากาศมากจนเกินไปทำให้อากาศส่วนเกินที่สะสมบนผิวหน้าสกัดกั้นมิให้น้ำในคอนกรีตระเหยออกไปได้ โดยในการแก้ไขให้ปรับปริมาณสารที่ทำให้เกิดฟองอากาศให้เหมาะสม อีกสาเหตุหนึ่งของผิวหน้าพองปูด คือ ปริมาณของทรายไม่พอเหมาะ โดยเฉพาะขนาดที่ผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 30 และเบอร์ 50 และอกสาเหตุหนึ่ง มีการแต่งผิวหน้าคอนกรีตก่อนเวลาอันควร ซึ่งการแต่งผิวหน้าคอนกรีตเมื่อมีคราบน้ำบยผิวหน้าคอนกรีตหายไปจนหมด

วิธีการป้องกัน
                 1. ควรใช้ความระมัดระวังในการแต่งผิวหน้าคอนกรีตเพิ่มมากขึ้น เพราะบางครั้งผิวหน้าของคอนกรีตอาจดูเหมือนพร้อมสำหรับการแต่งผิวหน้าได้ก่อนเวลาปกติที่สามารถทำได้ อีกทั้งไม่ควรปาดหน้าคอนกรีตซ้ำไปซ้ำมาจนมอร์ต้าลอยขึ้นมาอยู่บริเวณผิวหน้ามากเกินไป
                 2. ในสภาวะอากาศที่มีอัตราการระเหยสูงถ้ายังไม่สามารถแต่งผิวหน้าคอนกรีตได้ภายหลังจากที่เทคอนกรีตเสร็จแล้ว ให้คลุมผิวหน้าด้วยพลาสติกหรือวัสดุกันน้ำอื่นๆ ไว้ในช่วงระหว่างที่รอ เพื่อป้องกันน้ำที่ผิวหน้าระเหยออกเร็วเกินไป โดยเหลือเปิดไว้เฉพาะส่วนที่คาดว่ายังเกิดการเยิ้มอยู่
                 3. ในการปาดผิวหน้าให้เรียบด้วยแปรงปาด ควรเลือกใช้ใบปาดที่มีความเรียบไม่ขรุขะ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระจายน้ำหนักที่ไม่เท่ากันลงบนผิวหน้าคอนกรีต
                4. ใช้น้ำยาเร่งการก่อตัวหรือใช้คอนกรีตที่มีความร้อนสูงกว่าปกติ เพื่อป้องกันการเกิดผิวหน้าคอนกรีตปูดพองเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็น
                5. ควรหลีกเลี่ยงการใช้คอนกรีตที่ผสมสารกักกระจายฟองอากาศในการเทพื้นภายในอาคาร และไม่ควรใช้เกรียงเหล็กในการแต่งผิวหน้าของคอนกรีตที่ผสมสารกักกระจายฟองอากาศ
                6. ในขณะการแต่งผิวหน้าคอนกรีตถ้าเกิดการปูดพองขึ้นให้พยายามใช้เกรียงขัดซ้ำบริเวณที่เกิดให้เรียบหรือใช้เกรียงฉีกรอยที่ปูดออกแล้วขัดซ้ำด้วยเกรียงที่ทำจากไม้ รวมทั้งยืดเวลาการแต่งผิวหน้าให้นานออกไป
                 7. ในการเทคอนกรีตในสภาวะที่มีอัตราการระเหยสูงควรจะต้องมีการป้องกัน โดยการทำที่กั้นลม (wind breaks) เพื่อไม่ให้ลมสัมผัสกับผิวหน้าคอนกรีตโดยตรง รวมทั้งทำการฉีดพ่นน้ำให้เป็นละอองฝอยทันทีหลังการแต่งผิวหน้าเสร็จและคลุมด้วยกระสอบเปียกหรือใช้แผ่นพลาสติกคลุมทันทีที่ทำได้ 

ที่มา:http://www.cpacacademy.com/index.php?tpid=0119

วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความเสียหายบนผิวคอนกรีต(ต่อ)

ผิวหน้าคอนกรีตเป็นโพรงแบบรังผึ้ง (Honeycombed surface)


                    ผิวหน้าของคอนกรีตที่เป็นโพรงคล้ายรังผึ้งระหว่างก้อนของหิน โดยมากจะเกิดบนผิวหน้าของคอนกรีตที่เทโดยมีแบบปิด เช่น ด้านข้างของคาน เสา หรือผนัง สำหรับสาเหตุและวิธีแก้ไขได้
สาเหตุและวิธีแก้ไข
  • ส่วนผสมของคอนกรีตมีทรายน้อยเกินไปไม่เพียงพอไปอุดตามช่องว่าง
              - ปรับปริมาณทรายในส่วนผสมของคอนกรีตให้เหมาะสม
  • ค่าการยุบตัวของคอนกรีตไม่เหมาะสมกับงาน เช่น การเทคอนกรีตในแบบแคบๆ ถ้าค่าการยุบตัวสูงก็จะทำให้หินไปกองรวมกันได้ แต่ถ้าค่าการยุบตัวต่ำก็จะทำให้เนื้อคอนกรีตแน่นได้ยาก
              -ปรับค่าการยุบตัวของคอนกรีตให้เหมาะสมกับงาน และปฏิบัติงานให้ถูกวิธี เช่น คอนกรีตที่ต้องเทสูงๆ ควรใช้ท่อส่งคอนกรีตให้ถึงจุดที่เท เป็นต้น
  • ทำคอนกรีตให้แน่นได้ไม่ดีพอ
              -ใช้เครื่องสั่นหรือเขย่าคอนกรีตช่วย และควรเทคอนกรีตแต่ละชั้นให้สูงเกินกว่า 60 เซนติเมตร
  • ใช้เวลาผสมคอนกรีตน้อยเกินไป
              -ใช้เวลาผสมคอนกรีตให้นานขึ้นเพื่อให้วัสดุผสมกระจายตัวดีขึ้น
  • เหล็กเสริมชิดแบบเกินไปหรือหินที่ใช้มีขนาดโตเกินไป
             -ให้ตรวจสอบและหนุนเหล็กเสริมให้ห่างจากแบบตามกำหนดและใช้หินที่ไม่โตเกินขนาด
  • แบบแตกหรือรั่ว ทำให้ส่วนละเอียดไหลออกไปได้
            - ตรวจสอบแบบก่อนเทคอนกรีตและอุดรูรั่วทั้งหมด

หมายเหตุ : ผิวหน้าที่เป็นโพรงซึ่งไม่ถึงขึ้นเป็นอันตรายต่อโครงสร้าง สามารถซ่อมแซมได้ด้วยการสกัดให้ลึกอย่างน้อย 2.5 เซนติเมตร     จากนั้นทำความสะอาดฉีดน้ำให้ชุ่มแล้วใช้ส่วนผสมของปูนซีเมนต์ 1 ส่วนต่อทรายที่ผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 4 21/2 ถึง 3 ส่วน อุดปิดรอย และหลังจากอุดปิดแล้วจะต้องให้ความชุ่มชื้นติดต่อกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.hbaan.com/blokco.html

ข้อมูลส่วนหนึ่งจากหนังสือเทคนิคงานปูน-คอนกรีต

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความเสียหายบนผิวคอนกรีต(ต่อ)

ผิวหน้าร่อนเป็นแผ่น (scaling) ของคอนกรีต

ที่มา :http://www.cpacacademy.com/
ผิวหน้าของคอนกรีตซึ่งโดยทั่วไปจะหนาประมาณ 2 ถึง 6 มิลลิเมตร หลุดร่อนออกมาจากเนื้อคอนกรีตเมื่อกระทบสภาวะผิดปกติ สำหรับสาเหตุและวิธีแก้ได้
สาเหตุ
  • คอนกรีตมีคุณภาพต่ำ (สัดส่วนระหว่างปูนซีเมนต์ ทราย หิน และน้ำไม่ถูกต้อง)
  • แต่งผิวหน้าคอนกรีตก่อนเวลาอันควรทำให้เกิดการดึงส่วนละเอียดลอยขึ้นสู่ผิวหน้า
  • ทรายที่ใช้มีส่วนละเอียดมากเกินไป (ส่วนละเอียดที่ผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 100 และเบอร์ 200)
วิธีแก้ไข
  • ปรับส่วนผสมของคอนกรีตให้ถูกต้อง
  • ควรเริ่มแต่งผิวหน้าคอนกรีตเมื่อคราบน้ำบนผิวหน้าคอนกรีตหายไปจนหมดแล้ว
  • ขจัดส่วนที่ละเอียดเกินไปออก ด้วยการล้างหินและทรายก่อนนำมาใช้
            ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเทคนิคการก่อสร้าง ซึ่งงานสร้างบ้านจะออกมาดีเท่าใดจะขึ้นอยู๋กับผู้รับเหมา และวัสดุที่นำมาก่อสร้างบ้าน ซึ่งหากเจ้าของมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้านจะอาจจะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ได้  
            วัสดุที่นำมาก่อสร้างบ้านจึงเป็นอีกปัญจัยหนึ่งที่จะส่งผลต่อโครงสร้างบ้าน จึงขอแนะนำอิฐมวลเบา BlokCo ซึ่งจะสามารถลดปัญหาได้มากเช่น  ปัญหายผนังร้าว ทำให้เกิดความเสียหาย เป็นต้น ดังนี้อิฐมวลเบา BlokCo จึงเป็นวัสดุก่อสร้างที่เป็นตัวเลือกให้คุณในการก่อสร้างบ้านเพื่อให้บ้านมีความมั่นคงแข็งแรง และมีความสวย ซึงอิฐมวลมวล BlokCo ยังช่วยให้ช่างผู้ทำงานทำงานได้เร็วขึ้ เพราะอิฐมวลเบา มีขนาดที่เท่ากัน ตัดตกแต่งง่าย โดยสามารถสั่งซื้ออิฐมวล บล๊อคโค่ได้ที่โรงงานผลิต ที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ เทคนิคปูน-คอนกรีต

ความเสียหายบนผิวคอนกรีต(ต่อ)

ความเสียหายที่ปรากฏบนผิวหน้าคอนกรีตอาจเกิดขึ้นได้เสมอ ความเสียหายเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากการทำงานที่ขาดความระมัดระวัง การใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม การใช้ส่วนผสมที่ไม่ถูกต้อง หรือการเทและบ่มคอนกรีตที่ไม่ถูกวิธี จริงอยู่ สิ่งเหล่านี้ถึงแม้จะซ่อมแซมได้ก็ตาม แต่ก็ทำให้เกิดความยุ่งยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและถึงแม้ว่าจะซ่อมแซมดีเพียงใดก็ตาม ย่อมไม่อาจทำให้มีคุณภาพดีเท่ากับคอนกรีตที่ไม่ต้องซ่อมได้ สิ่งเหล่านี้สามารถควบคุมมิให้เกิดขึ้นได้ ถ้าเพิ่มความเอาใชใส่ทั้งก่อนและขณะปฏิบัติงาน สำหรับลักษณะความเสียหายที่พบเห็นกันโดยทั่วไป ได้แก่ ผิวหน้าแตกเป็นฝุ่น ผิวหน้าร่อนเป็นแผ่น ผิวหน้าเป็นโพรงแบบรังผึ้ง ผิวหน้าพองปูด มีชั้นส่วนละเอียดบนผิวหน้าคอนกรีตโพรงอากาศ แนวหรือรอยทราย และรอยปะทุ
          ผิวหน้าแตกเป็นฝุ่น (dusting)
ผิวหน้าของคอนกรีตโดยเฉพาะบนพื้นคอนกรีต มีคอนกรีตซึ่งมีความแข็งน้อยกว่าเนื้อในเคลือบอยู่บางๆ ทำให้ความต้านทานต่อการขัดสีดำ ดังนั้น เมื่อถูกขัดสีก็จะกลายเป็นฝุ่นไปในที่สุด สำหรับสาเหตุและวิธีแก้ไขได้ถูกแสดงไว้ดังนี้


ข้อสังเกต: แบบไม้หรือไม้อัดที่ใช้ครั้งแรก ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตแตกเป็นฝุ่นได้เช่นกัน จากการทดสอบพบว่าเฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) ในเนื้อไม้มีผลต่อการก่อตัวของปูนซีเมนต์ ดังนั้น เมื่อใช้ไม้เป็นแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม้ยังแห้งไม่สนิทก็ควรใช้น้ำมันทาเคลือบผิวหน้า แต่อย่างไรก็ตาม สมาคมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า การใช้น้ำมันทางแบบมากเกินไปก็อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตแตกเป็นฝุ่นได้เช่นกัน เนื่องจากน้ำมันจะจับฝุ่นสะสมเป็นชั้นบางๆ บนผิวหน้าของแบบ ทำให้คอนกรีตที่ติดกับแบบไม่ก่อตัวตามปกติ และเมื่อถึงกำหนดเวลาถอดแบบแล้ว คอนกรีตที่ติดกันกับแบบก็ยังไม่แข็งตัว จึงกลายเป็นฝุ่นไปในที่สุด สำหรับการแก้ไขก็สามารถกระทำโดยไม่ใช้น้ำมันทาแบบมากจนเกินไป หรือเช็ดล้างน้ำมันส่วนเกินออก การใช้ไม้อัดเป็นครั้งแรก นอกจากจะทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตแตกเป็นฝุ่นแล้ว บางครั้งก็จะทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตเป็นสีชมพูหรือสีแดง ซึ่งเข้าใจอาจเกิดจากสารบางชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตไม้อัดสิ่งเหล่านี้ล้างออกยากแต่จะจางหายไปเองภายใน 2-3 วัน หรือบางครั้งหลายสัปดาห์ก็เป็นได้

จะไม่เกิดปัญหาเหล่านี้หากเราเลือกวัสดุที่มีคุณภาพในการสร้างบ้าน ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งขอแนะนำอิฐมวลเบา BlokCo (อิฐมวลเบา บล็อคโค่) ที่มีตุณสมบัติพิเศษสามารถป้องกันความร้อนได้ดีบ้านเย็น เป็นเป็นวัสดุที่มีวัตถุดิบคล้ายกันกับปูนซีเมนต์ จำให้เกิดปัญหาน้อยมากในการก่อฉาบ และสามารถลดการแตกร้าวของผนังบ้าน โดยมีโรงานผลิตที่ จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานี

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือเทคนิคงานปูน คอนกรีต

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รอยร้าวที่เกิดขึ้นภายหลังคอนกรีตแข็งตัวแล้ว (ต่อ)

รอยร้าวที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี
                ปฏิกิริยาทางเคมีเป็นสาเหตุที่สำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เกิดรอยร้าว อาทิ การที่หินหรือทรายบางชนิด เช่น ไพไรต์ (pyrite) ทำปฏิกิริยากับด่าง (alkali) ในปูนซีเมนต์ เกิดเป็นวุ้นและขยายตัวทำให้เกิดรอยร้าว ซึ่งกรณีนี้สามารถป้องกันได้โดยใช้ปูนซีเมนต์ที่มีเปอร์เซ็นต์ของต่างสูงไม่เกิน 0.6เปอร์เซ็นต์ การเกิดสนิมขึ้นที่เหล็กเสริม อันเป็นผลทำให้เหล็กเสริมเกิดการขยายตัว ก็จะทำให้เกิดรอยร้าวได้ด้วยเช่นกัน ในกรณีที่ว่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการทำคอนกรีตให้แน่น และ/หรือให้เนื้อคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมหนาพอที่จะป้องกันความชื้น มิให้ผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยากับเหล็กเสริมได้
                รอยร้าวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
                การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ อาทิ การทดหรือขยายตัวของเนื้อคอนกรีต ตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแรงเค้นอันเนื่องมาจากการหดตัวสูงกว่าแรงดึงที่คอนกรีตสามารถที่จะสร้างขึ้นมาได้ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดรอยร้าวขึ้นได้เช่นกัน องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดรอยร้าวดังกล่าวนี้ ได้แก่ ปริมาณน้ำในส่วนผสมของคอนกรีต ถ้ายิ่งใช้น้ำมากคอนกรีตก็จะร้าวมาก เพราะคอนกรีตจะหดตัวได้มากและมีกำลังต่ำลง การบ่มคอนกรีตที่ถูกวิธีในเวลาอันถูกต้อง จะช่วยให้คอนกรีตมีกำลังสูง และสามารถป้องกันคอนกรีตแตกร้าวได้
                วิธีควบคุมรอยร้าวชนิดนี้ที่นิยมทำกันก็คือ การจัดทำจุดอ่อน (weak zone) ขึ้นในเนื้อคอนกรีต ด้วยการทำเป็นรอยต่อเพื่อให้คอนกรีตร้าวในบริเวณดังกล่าว โดยทั่วไปจะให้รอยต่อลึกประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของแท่งคอนกรีต อาจใช้เลื่อยวงเดือนตัดเป็นร่องหลังเทคอนกรีตแล้วประมาณ 4 ถึง 8 ชั่วโมง แต่จะต้องให้สามารถทำงานได้โดยที่ผิวหน้าคอนกรีตไม่เสียหาย รอยต่อดังกล่าวนี้จะต้องมีมากพอ ปกติบนพื้นทางเท้าควรทำไว้ทุกๆ ระยะ 2 เมตร และทุกๆ 5 ถึง 6 เมตร สำหรับถนนหรือพื้นคอนกรีตขนาดใหญ่ หรือทุกๆ ช่วงเสาของอาคาร แต่ไม่ควรเกิน 6 เมตร นอกจากจะมีการเสริมเหล็กไว้อย่างเพียงพอ
                รอยร้าวแบบแผนที่ (Craze crack) 

ที่มา :www.concretemoisture.com
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณผิวหน้าของคอนกรีตเท่านั้น จะเกิดจากการที่ผิวหน้าของคอนกรีตหดตัวมากกว่าเนื้อใน รอยร้าวชนิดนี้เมื่อเริ่มเกิดจะแลไม่ค่อยเห็นแต่จะปรากฏให้เห็นก็เมื่อเปียกน้ำเท่านั้น สาเหตุอาจเนื่องมาจากอุณหภูมิความชื้น และลม หรือจากการแต่งหน้าคอนกรีตที่มีส่วนผสมเหลวนานจนเกินไป หรือจากการใช้ปูนซีเมนต์แห้งสาดไปบนผิวหน้าคอนกรีตเพื่อให้แห้งตัวเร็วยิ่งขึ้น ไอเสียจากเครื่องยนต์ก็เป็นอีกหนึ่งที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตเกิดรอยร้าวได้เช่นกัน ดังนั้น การหลีกเลี่ยงจากสิ่งเหล่านี้ก็สามารถที่จะป้องกันการเกิดรอยร้าวได้

                รอยร้าวที่เกิดจากความร้อน
                ความร้อนที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดรอยร้าว ได้แก่ ความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างปูนซีเมนต์กับน้ำขณะก่อตัว ซึ่งจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิภายในกับภายนอกของคอนกรีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนกรีตหลา ซึ่งมีเนื้อคอนกรีตมาก การถ่ายเทความร้อนเกิดจากภายในออกสู่ภายนอก จะทำให้คอนกรีตเกิดการหดตัวและเกิดรอยร้าว การควบคุมสามารถทำได้หลายวิธี อาทิ การเทคอนกรีตแต่ละครั้งไม่เทให้สูงมากนัก หรือยึดระยะเวลาการเทระหว่างชั้นให้นานออกไปการใช้ปูนซีเมนต์ที่ให้ความร้อนต่ำ หรือการเพิ่มความเย็นให้กับวัสดุผสมคอนกรีตและน้ำที่ใช้ ก็สามารถที่จะป้องกันการเกิดรอยร้าวได้เช่นกัน
                อุณหภูมิภายนอกก็มีอิทธิพลต่อการร้าวของคอนกรีตได้ด้วยเช่นกัน การป้องกันจากสาเหตุดังกล่าวนี้สามารถที่จะกระทำได้ด้วยการทำรอยต่อไว้ให้คอนกรีตขยายตัว รอยต่อที่ว่านี้วัสดุที่ยึดหยุ่นตัวได้ เช่น แผ่นยาง แอสพัลต์ เป็นต้น และรอยต่อดังกล่าวนี้จะต้องกำหนดไว้ ณ ระหว่างทางเท้ากับถนน หรือระหว่างถนนกับพื้นโรงรถ เป็นต้น
               
                จุดอ่อนของโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตามมุมประตู-หน้าต่าง ซึ่งโดยทั่วไปจะมีแรงเค้น (stress concentration) สูงกว่าที่อื่น บริเวณดังกล่าวนี้มักจะเกิดรอยร้าว และรอยร้าวเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณมุมหรือใกล้ๆ กับมุม ภายในระยะ 1 ใน 3 ของความกว้างของช่องประตูหน้าต่าง กรณีสามารถป้องกันได้โดยใส่เหล็กเสริมเพื่อช่วยรับแรงเค้นที่เกิดขึ้นบางทีรอยร้าวอาจเกิดจากการใส่เหล็กเสริมก็มี เช่น บริเวณที่เหล็กเสริมต้องหักงอ กรณีดังกล่าวนี้ สามารถป้องกันได้ ด้วยการเพิ่มความหนาของคอนกรีตที่หุ้ม
                รอยร้าวที่เกิดความบกพร่องในการคำนวณออกแบบ
ที่มา http://www.technologymedia.co.th/

                ความบกพร่องในการคำนวณออกแบบก็เป็นสาเหตุอีกอันหนึ่ง ที่ทำให้เกิดรอยร้าวอาทิ การใช้เสาเข็มต่างขนาดรองรับฐานรากอาคารหลังเดียวกันหรือที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้น เมื่อฐานรากทรุดตัวลงไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดรอยร้าวกับอาคารได้หรือเกิดจากการกำหนดน้ำหนักที่ใช้ในการคำนวณน้อยกว่าที่เป็นจริง ทำให้โครงสร้างไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดรอยร้าวได้เช่นกัน
                รอยร้าวที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือเหตุสุดวิสัย

                อุบัติเหตุหรือเหตุสุดวิสัยที่อาจเกิดขึ้นในทันทีทันใด ก็สามารถทำให้เกิดรอยร้าวได้ด้วยเช่นกัน อาทิ การรับน้ำหนักการสั่นสะเทือนที่สูงเกินขีดจำกัดการกระแทก ไฟไหม้ หรือแผ่นดินไหว เป็นต้น
ข้อมูลอิฐมวลเบาเพิ่มเติม http://www.hbaan.com/blokco.html
ขอบคุณข้อมูลจาก  หนังสือเทคนิคงานปูน-คอนกรีต

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผนังบ้าน

ความเสียหายของการก่อผนังบ้านมักเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าจะได้พยายามทำให้ดีที่สุดแล้วก็ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นแม้บางครั้งอาจไม่ทำให้เกิดอันตรายขึ้นก็ตาม แต่ก็อาจมีผลทำให้คอนกรีตที่หล่อขาดความสวยงามและความเชื่อถือขึ้นได้เช่นกัน ปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดความเสียหายนี้ อาจเกิดจากความพบพร่องของผู้ออกแบบก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากทางผู้ก่อสร้าง ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการขาดการควบคุมงานที่ดี มีการใช้วัสดุที่ไม่เหมาะ อัตราส่วนผสมไม่ถูกต้อง ดังนั้น ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุดโดยไม่เกิดความบกพร่องแล้ว ปัญหาดังกล่าวนี้ก็จะลดลงหรือหมดไปได้เช่นกัน ซึ่งรอยร้าวบนคอนกรีต หรือผนังบ้าน จะสามารถแบ่งได้ดังนี้
 รอยร้าวที่เกิดขึ้นก่อนผนังบ้านจะแข็งตัว
                 รอยร้าวเกิดจากการทรุดตัวของพื้นที่รองรับ (form or subgrade movement)

                รอยร้าวชนิดนี้ สาเหตุอาจเนื่องมาจากความชื้นซึ่งจะทำให้พองตัว หรือแบบอาจไม่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของอิฐก่อและปูนได้ อย่างไรก็ตาม การที่วัสดุยึดตรึงแบบ ไม่ว่าจะเป็นตะปูหรือนอตถ้าเกิดการหลุดหลวม ก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แบบขยับตัวได้เช่นกัน  รอยร้าวที่เกิดขึ้นจากสาเหตุดังกล่าวนี้จะมีรูปร่างไม่แน่นอน การควบคุมเพื่อมิให้เกิดรอยร้าวสามารถที่จะกระทำได้ด้วยการตรวจความแน่นของพื้นที่รองรับ               
                  รอยร้าวเกิดจากการทรุดหรือจมตัวของวัสดุผสมหยาบในเนื้อคอนกรีต (settlement)

                รอยร้าวชนิดนี้ สาเหตุเกิดจากส่วนผสมของปูนฉาบเหลวเกินไป ดังนั้น ในช่วงเวลาที่ผสมปูน วัสดุผสมจำพวกหิน และทรายก็ยังจมลงสู่เบื้องล่างเรื่อยๆ ถ้ามีวัสดุขวางกั้นอยู่ เช่น เหล็กเสริม ท่อสายไฟ หรือท่อน้ำ ส่วนที่จมตัวจะทรุดตัวอยู่รอบๆ วัสดุนั้น ทำให้เกิดรอยร้าวบนผิวหน้าคอนกรีตตามแนวของวัสดุนั้นๆ สาเหตุดังกล่าวนี้สามารถควบคุมได้ด้วยการลดปริมาณน้ำในส่วนผสมลง และใช้ หิน ทรายที่มีขนาดลดหลั่นที่ได้ส่วนกัน
                  รอยร้าวเกิดจากการหดตัวของปูนในขณะก่อตัว (plastic shrinkage)

                รอยร้าวชนิดนี้ สาเหตุเกิดจากอัตราการระเหยตัวของน้ำสูงกว่าปริมาณน้ำที่ถูกขับออกจากปูน ในขณะก่อตัว เนื่องจากสภาพของดินฟ้าอากาศและอุณหภูมิของคอนกรีตเองรอยร้าวชนิดนี้พบมากที่สุดบนพื้นคอนกรีต ลักษณะการร้าวส่วนใหญ่จะร้าวเป็นเส้นตรงหรือเป็นรูปตีนกา มักจะเกิดภายในกรอบของพื้น แต่ก็มีบ้างที่ร้าวไปจนถึงขอบเลยก็มี รอยร้าวชนิดนี้จะลึกมากบางกรณีอาจร้าวตลอดความหนาของพื้นคอนกรีต
รอยร้าวชนิดนี้ถึงแม้จะไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้าง แต่ก็จะทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิมได้ เนื่องจากรอยร้าวดังกล่าว จะเป็นช่องทองให้น้ำและอากาศเข้าไปทำอันตรายต่อเหล็กเสริมภายในเนื้อของคอนกรีตได้ การควบคุมสามารถที่จะกระทำได้ ด้วยการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ไม้แบบ พื้นที่รองรับวัสดุผสม นอกจากนั้น การทำแผงกันลม กันแดด การรีบแต่งหน้าคอนกรีต และการรีบบ่มคอนกรีตโดยเร็ว ก็สามารถช่วยขจัดการแตกร้าวลงได้ การหลีกเลี่ยงที่จะเทคอนกรีตในขณะอากาศร้อนหรือลมแรง ก็สามารถที่จะช่วยลดการแตกร้าวได้ด้วยเช่นกัน รอยร้าวถ้าพบก่อนที่คอนกรีตจะแข็งตัวก็อาจแก้ไขได้ด้วยการเขย่าคอนกรีตอีกครั้งหนึ่ง หรือแก้โดยการแต่งผิวหน้าของคอนกรีต ด้วยวิธีคลุกเคล้า คอนกรีตเข้าหากันเพื่อปิดรอยร้าว
อิฐมวลเบา BlokCo

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผนังบ้านที่ได้กล่าวเบื้องต้นนี้ ได้แสดงให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับหลายปัจจัยที่มีความซับซ้อน ดังนั้นเพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นจึงขอแนะนำอิฐมวลเบา BlokCo ซึ่งจะสามารถลดการแตกร้าวของผนังบ้านได้เป็นอย่างดี เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการผลิตมีความใกล้เคียงกับปูนที่ใช้ในการก่อฉาบ จึงทำให้อิฐมวลเบาที่ใช้ก่อเป็นเนื้อเดียวกันกับปูนก่อฉาบ  นอกจากนี้อิฐมวลเบา BlokCo  ยังช่วยให้บ้านเย็นขึ้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษของอิฐมวลเบา BlokCo ซึ่งมีโรงงานผลิต ที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ มีบริการจัดส่ง

ขอบคุณข้อมูลจาก  หนังสือเทคนิคงานปูน-คอนกรีต

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

การใช้งานอิฐมวลเบา กับการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ

วิธีการติดตั้งคานทับหลังสำเร็จรูป (Lintel)  
   สำหรับผนังอิฐมวลเบาที่มีความหนา 10 ซม.ขึ้นไปนั้น สามารถใช้ทับหลังสำเร็จรูป แทนการหล่อทับหลัง ค.ส.ล.ได้ โดยวางทับหลังสำเร็จรูปลงบนตัวก้อนอิฐมวลเบาทั้งสองด้าน (ไม่ให้น้ำหนักถ่ายลงบนวงกบโดยตรง) โดยต้องมีระยะนั่งของบ่าทั้งสองด้านเพียงพอ ตามตาราง ทั้งนี้ขนาดมาตรฐานของคานทับหลังสำเร็จรูป มีความยาวตั้งแต่ 1.20 ม. จนถึง 3.60 ม. ทุกๆ ช่วง 0.30 ม. ความหนา 10, 12.5 และ 20 ซม.
การฝังท่อร้อยสายไฟหรือท่อประปา
1. กำหนดแนวที่ต้องการฝังท่อ โดยใช้ดินสอขีดทำเครื่องหมายลงบนผนังอิฐมวลเบา หรือใช้เต้าตีเส้น โดยมีขนาดทีใกล้เคียงกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ
2. ใช้มอเตอร์เจียรที่เป็นใบพัดแบบตัดคอนกรีต ตัดตามแนวที่กำหนดไว้ ให้มีความลึกเท่ากับขนาดท่อ โดยความลึกสูงสุดไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของความหนาของตัวก้อน
3. ใช้สิ่วตอกเพื่อแซะเนื้อของตัวก้อนอิฐมวลเบาออกตามแนวที่ได้เจียรไว้ แล้วใช้เหล็กขูดเซาะร่องขูดเก็บส่วนที่ยังมีเศษติดค้างอยู่ให้เรียบร้อย พร้อมที่จะใส่ท่อร้อยสายไฟ หรือท่อประปา

ข้อแนะนำในการเจาะและยึดแขวนวัสดุ
หลังจากทำการฉาบผนังอิฐมวลเบาเรียบร้อยแล้ว หากต้องการตอกตะปูเพื่อใช้ในการยึดแขวนวัสดุหรือของใช้ต่างๆ ให้ฝังในพุกไนล่อนหรือพุกเหล็ก ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดตะปูให้แน่นได้เป็นอย่างดี แสดงรูปร่างของพุกไนล่อน UX แสดงรูปร่างของพุกไนล่อน SX แสดงรูปร่างของพุกเหล็ก FMD
ขั้นตอนการเจาะยึดแขวนวัสดุ
ขั้นตอนที่ 1
     แบบติดตายตัว กำหนดความสูงของชั้นวางบนสุดก่อนโดยทั่วระยะจากพื้น ทำเครื่องหมายที่รูของขาฉากให้ขาด้านยาวเป็นด้านที่ติดผนัง และขาด้านสั้นรองรับแผ่นชั้น แล้วใช้สว่านเจาะเพื่อยึดด้วยสกรูโดยพยายามหลีกเลี่ยงตำแหน่งที่เป็นผนังโปร่งไม่มีโครงยึด
ขั้นตอนที่ 2
     ถ้าติดตั้งชั้นวางเข้ากับผนังยิปซั่มหรือผนังปูน จะต้องใช้พุกที่เหมาะสมกับชนิดผนังเช่น ผนัง ยิปซั่มใช้พุกแบบมีปีก ผนังปูนใช้พุกพลาสติกหรือโลหะก็ได้ควรติดตั้งขาฉากของชั้นวางห่างกันไม่เกิน 2 ฟุต ซึ่งแล้วแต่น้ำหนักของสิ่งของแต่สjวนปลายของแผ่นชั้น แต่ละข้างไม่ควรยื่นออกจากขาฉากเกิน 1 ฟุต
ขั้นตอนที่ 3
    ใช้ระดับน้ำทาบวัดระยะให้ขาฉากอีกอันได้แนวเดียวกันทำเครื่องหมายไว้แล้วจึงเจาะใส่สกรู
ขั้นตอนที่ 4
     แบบปรับระดับได้ กำหนดตำแหน่งที่จะติดตั้งรางเหล็กสำหรับปรับระดับทำเครื่องหมายที่จะเจาะรู เจาะเข้าผนังด้วยสว่านไฟฟ้า ล้วฝังพุกแล้วจึงยึดรางด้วยสกูร

ขั้นตอนที่ 5
     ใช้ระดับน้ำวางทาบบนปลายของรางเหล็กอันแรก เพื่อวัดระยะติดตั้งรางเหล็กอันที่ 2เมื่อได้ระดับ แล้วจึงทำเครื่องหมายไว



            จากวิธีการดังกล่าวเมื่อนำอิฐมวลเบา BlokCoไปใช้งานจริงที่เหมาะกับคุณสมบัติของอิฐมวลเบา BlokCo ของเราแล้วพร้อมทั้งข้อแนะนำวิธีต่างๆเพื่อให้คงทน มีความแข็งแรงมากขึ้น ท่านที่กำลังคิดจะก่อสร้างสิ่งต่างๆ พร้อมกับคำแนะนำดีๆ ท่านสามารถติดต่อสั่งซื้ออิฐมวลเบา BlokCoได้ที่โรงงานผลิตของเราที่จังหวัดอุบลราชธานี และ จังหวัดศรีสะเกษ มีบริการส่งถึงที่ พร้อมขายที่ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง